เทคโนโลยี IoT ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเพิ่ม productivity ในการทำงานเท่านั้น แต่มันคือ การเปลี่ยนวิถีการทำงานไปเลย เพราะมันมีความสามารถที่จะ track และ monitor เก็บข้อมูลเอาเข้ามาวิเคราะห์ประมวลผลให้ output กับพวกเราในแง่มุมต่าง ๆ ในทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นวงการขนส่ง การตลาด การแพทย์ การศึกษา เกษตรกรรม และอื่น ๆ อีกมากมายบทความนี้จะไม่ได้ลงลึกไปถึง IoT ที่จะนำมาใช้กับ อุตสาหกรรมเดินเรือกันมากเท่าไหร่ เพียงแต่จะนำเรื่องราวต่างๆ มาเขียนวิเคราะห์ในภาพกว้างถึง การที่ Technology IoT จะ adoption ได้อย่างไร
EMPOWERING PEOPLE
“ ความสำคัญคงเกินเลยไปกว่าคำว่า เราจะทำงานกันที่ไหน แต่เราจะทำงานกันอย่างไร “
ถ้าเราเริ่มพูดกันถึง Internet of Thing ในยุคแรก
หลายคนคงคิดถึงว่ามันจะคงมาช่วยเราให้สามารถ remoted worker กันมากขึ้น
ทำงานที่ไหนก็ได้ อันนี้คงเข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดในปัจจุบัน
แต่ปัจจุบันมุมมองของ Internet of Thing คงไปไกลกว่าคำว่าเราจะทำงานที่ไหนกัน
และความสำคัญที่จะทำให้เทคโนโลยีนี้เกิดขึ้นได้จริงคือ
การเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน ช่วยให้เราทำงานได้เร็วขึ้น มากขึ้น และปลอดภัยขึ้น แต่ใช้เวลาเท่าเดิม
ตลอดจนข้อมูลที่เก็บมานั้นสามารถนำเอามาวิเคราะห์หากลยุทธ์ที่ปรับใช้ในการทำงานได้
ยกตัวอย่างในแวดวงอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้ Internet of Thing เข้ามาประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย
อันนี้มากกว่าวงการ Maritime เป็นอย่างมาก เช่น การเชื่อมต่อการควบคุมระยะไกลกับเครื่องจักรหรือ sensor ต่าง ๆ
บางโรงงานถึงขั้นขับรถ Forklift ระยะไกลกันเลยทีเดียว
อีกตัวอย่างหนึ่งที่สร้างประโยชน์ให้กับมนุนษย์เราเป็นอย่างมากก็คือ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ร่วมกับแว่น AR ในการทำ VDO conference
กับรถพยาบาลโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการ stroke หรือ อาการทางหลอดเลือดสมอง
ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองประเมินคนไข้ได้อย่างทันท่วงที
เห็นมั้ยว่า จะทำงานกันที่ไหน มันคงจะไม่สำคัญเท่ากับคำว่าจะทำงานกันอย่างไร
กรณีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ร่วมกับแว่น AR ในการทำ VDO conference กับรถพยาบาล
เกิดขึ้นที่ > 5G lab of the university of alberta < ลองไปทำความรู้จักกับที่นี้ได้ครับ
ในมุมมองของแอดฯ คิดว่า Telemedicine ในทะเลก็ควรจะเกิดขึ้นในไม่ช้า
คนประจำเรือเก่ง ๆ คงอยากทำงานในบริษัทที่ทำโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพของคนประจำเรือได้ดี
เพราะอย่างที่เรารู้กันว่า การเจ็บป่วยบนเรือที่รุนแรงแบบอยู่ห่างฝั่งหลายร้อยไมล์มันคงไม่น่าภิรมณ์เท่าไหร่
HOW TO MAKE IT ALL WORK
“ ผู้ประกอบการที่เห็นโอกาสดังกล่าวในการพัฒนาธุรกิจของตนต้องคำนึง กลยุทธ์ หรือแนวทางเดินที่จะไป ”
ไม่ว่าผู้ประกอบการที่จะเอา IoT เข้ามาใช้งานเองก็ดี
(ถ้าเป็นวงการเรือก็คงหนีไม่พ้นผู้ประกอบการเรือที่จะต้องเอา IoT เข้ามาใช้งานในกองเรือของตนเอง)
หรือผู้ประกอบการที่จะต้องเป็นคนจัดหา Technology ดังกล่าว ก็ต้องคำนึงถึงกลยุทธ์ที่จะต้องเดินไป
เพราะการแค่เอา sensor ซักตัวหรืออุปกรณ์ไปแปะไว้ในจุดต่าง ๆ
ถ้าทำแค่นั้นมันคงไม่ได้เกิดประโยชน์กับองค์กรมากนัก กระบวนการที่จะ Implement เรื่องนี้ได้
มันมีหลายมิติหรือมุมมองที่ต้องคำนึง เช่น มิติทาง Cyber security, มิติในประเด็นการเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล
ประเด็นปัญหาที่สำคัญขององค์กร คือ การมีเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลเต็มไปหมด แต่ไปตกม้าตายที่ไม่มีการบริหารข้อมูล
และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เรียกได้ว่าเก็บมาแต่ไม่ได้เอามาวิเคราะห์
จากการวิเคราะห์ของแอดฯ มองว่าองค์กรขาดความรู้ความสามารถในด้านนั้นจริง ๆ
ตรงนี้จึงต้องมี partner ที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือในการ Implement ในประเด็นเหล่านี้
THE UNTAPPED PROMISE
“ ความเพ้อฝันของเทคโนโลยีที่ต้องระวัง เพราะถ้าเราชะล่าใจเราจะตกขบวน ”
ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา โครงการที่เกี่ยวข้องกับ IoT ได้เกิดขึ้นมามากมาย
ในอดีตนั้นยากที่จะ scale up โครงการเป็นอย่างมาก (โดยเฉพาะในยุคอุตสาหกรรม 4.0)
แต่ปัจจุบันมันไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว บริษัท Technology ทั้งหลาย
ได้เข้ามาร่วมแก้ปัญหาและผลักดันทำให้เกิดการ scale up โครงการ IoT ต่าง ๆ
แบบนี้จะไม่น่าสนใจได้อย่างไร ใครช้า? ตกขบวนนะครับ
ปัจจุบันมันไม่ใช่แค่การเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ ๆ แล้วข่าวก็เงียบหายไป
แต่มันกำลังจะเป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันของบริษัท
หรือเรียกว่าเป็นรากฐานของบริษัทไปแล้ว และส่วนตัวแอดฯ มองว่า
มันน่าจะถูก adoption จนเข้าสู่ stage early majority ไปแล้ว
“ Competitive advantage หรือความสามารถในการแข่งขัน แล้วความสามารถในการแข่งขันของบริษัทคุณคืออะไร? ”
FIRST MOVER
“ เขยิบก่อนคนแรกคงไม่พอ ต้องเร็วด้วย ”
First Mover หรือในทางธุรกิจเราเรียกว่า
คนที่ดำเนินธุรกิจหรือก้าวเข้ามาก่อนเป็นคนแรกๆ ในวงการนั้น ๆ หรือ ในเทคโนโลยีนั้น ๆ
ส่วนถ้าเป็นฝากฝั่ง User ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นบริษัทที่ริเริ่มเอาอะไรใหม่ ๆ
เทคโนโลยี หรือวิธีการ process ใหม่ ๆ มาใช้
มีข้อถกเถียงกันมากมายว่า การที่บริษัทดำเนินกลยุทธ์แบบ First Mover
จะเป็นข้อได้เปรียบที่บริษัทจะได้เปรียบในความสามารถในการแข่งขันหรือไม่
Harvard Business Review ฉบับเดือนเมษายน เมื่อปี 2005
ชื่อ The Half Truth of First Mover Advantage ได้สรุปก็คือ
การที่ธุรกิจใดจะเกิดการได้เปรียบจากการเป็น First Mover ได้นั้น
ขึ้นอยู่กับปัจจัยสองประการ ได้แก่ อัตราการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง (Technology Readiness)
และ อัตราการเติบโตของตลาด แต่ในมุมของแอดฯ เอง
ขอเพิ่ม speed หรือ ความเร็วเข้ามาด้วย เพราะถ้าช้า ปรับตัวไม่ทัน ก็น่าที่จะตกขบวนรถไฟที่เรียกว่า
ยุคสมัย Industry 4.0 is transitioning Industry 5.0 is coming
การก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม
ซึ่งช่วยให้สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของเครื่องจักร
ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยุ่น และสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยเราสามารถอธิบายการปฏิวัติอุตสาหกรรมออกได้ ดังนี้
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1
เป็นยุคที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำจากพลังงานถ่านหินในระบบรถไฟและโรงงาน
แรงงานเปลี่ยนจากเกษตรกร ช่างฝีมือ เข้าสู่การทำงานในโรงงานขนาดเล็ก
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2
ยุคพลังงานใหม่จากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า
การผลิตเป็นระบบสายพานที่เน้นการผลิตแบบ Mass Production ในปริมาณมาก
และรวดเร็วแรงงานเข้ามาทำงานในระบบโรงงานที่ใหญ่มากขึ้น
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3
มีการนำเอา IT (Information Technology)
และคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม ทำให้เกิดเครื่องจักรอัตโนมัติ
และหุ่นยนต์แรงงงานบางส่วนจึงถูกหุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทนที่
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
เป็นการนำเอาโลกของการผลิต
มาเชื่อมต่อกับเครือข่ายในรูปแบบ IoT (Internet of Things)
ซึ่งทำให้กระบวนการผลิตสินค้าเชื่อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล การนำสินค้าไปเชื่อมโยงกับเทคโนโลยี
รวมไปถึงการทำงานของแรงงานที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาช่วยให้งานผลิตสำเร็จได้รวดเร็ว
และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
และที่เคยได้กล่าวไว้ว่าโครงการ IoT ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนักในยุคอุตสาหกรรม 4.0
เพราะในยุคนั้นถึงแม้จะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้กัน แต่ถึงอย่างไรก็ยังต้องการมนุษย์
ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ อยู่ดี จึงเกิดแนวคิดในเรื่องอุตสาหกรรม 5.0 ขึ้นมา
ที่มุ่งเน้นไปที่ การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี หรือ ที่เรียกว่า Collaboration with Human
ตัวเทคโนโลยี IoT เองจะเข้าใจมนุษย์มากยิ่งขึ้น
ตรงนี้แอดมองว่าจริง ๆ มันไม่ได้เป็นความฝันแต่มันก็คือระบบ AI ที่เราเอามาใช้ในการควบคุมนั่นเอง
IoT ที่มี AI นั้นมีขีดความสามารถที่จะช่วยมนุษย์วิเคราะห์ แนะนำมนุษย์ และคาดการณ์ได้
ตัวอย่างที่เห็นกันชัดก็คือ พวกระบบที่ทำนายการซ่อมบำรุงต่าง ๆ ในวงการเรือของเรา
แอดมองว่าคุณประโยชน์ของ IoT และ AI ถ้าผสมผสานกันได้
มันจะเป็น solution ที่นำเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในหลายมิติ
บทความโดย
Mr. Horizontal
------------------------------------------------------------
- https://www.telus.com/en/about/news-and-events/media-releases/university-of-alberta-and-telus-bring-5g-living-lab-to-campus-to-advance-research-and-development-of-innovative-technologies
- https://iot.eseye.com/2022-future-of-iot/thank-you/
- Special report :The future of IOT , eseye Limited
- https://hbr.org/2005/04/the-half-truth-of-first-mover-advantage