โดยทั่วไปแล้วเราแบ่งวงโคจรของดาวเทียมออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1.วงโคจรค้างฟ้าหรือวงโคจรประจำที่ (Geostationary Orbit : GEO)
คือ วงโคจรที่มีระดับความสูงจากพื้นโลกโดยประมาณ 35,786 กิโลเมตร
โดยดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรแบบ GEO จะมีคุณสมบัติในการโคจร
หรือเคลื่อนที่ไปพร้อมกับการหมุนรอบตัวเองของโลก
จึงเสมือนว่าเมื่อมองจากโลกขึ้นไปดาวเทียมดังกล่าวก็เหมือนกับโคจรอยู่กับที่ตลอดเวลา
ดังนั้นวงโคจรแบบ GEO จึงเป็นวงโคจรที่ เหมาะสมสำหรับการใช้ประโยชน์ที่ในด้านการสื่อสาร
จะเห็นได้ว่ามันอยู่สูงมากดังนั้นการสร้างดาวเทียม และการส่งดาวเทียมขึ้นไปจึงใช้งบประมาณสูง
ซึ่ง บริษัท ship expert ของเรานั้นใช้ดาวเทียมที่มีวงโคจรในระดับนี้ครับ
จะเห็นได้ว่าด้วยความสูงถึงเกือบ 36,000 กิโลเมตร
เพื่อน ๆ ลองคิดดูนะครับกว่าคลื่นสัญญาณจะวิ่งขึ้น วิ่งลงจากภาคพื้นไปยังชั้นฟ้า
และลงมาภาคพื้นอีกครั้ง ไป – กลับ ก็เกือบ 72,00 กิโลเมตร ไปแล้วครับ
นี่ยังไม่นับรวมกับสภาพอากาศเช่น เมฆฝน หรือ กลุ่มพายุที่ลดทอนกำลังของคลื่นสัญญาณดาวเทียมลงไปอีก
จึงทำให้บางครั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ตขาดหายหรือไม่เสถียรบ้าง
ปัญหาตรงนี้ในอนาคตอาจจะเป็นโอกาสของดาวเทียมประเภท Leo ที่จะเข้ามาครับ
แต่ข้อดีของมันคือเมื่ออยู่สูงการยิงดาวเทียมหนึ่งดวงก็สามารถครอบคลุมพื้นที่บริการได้กว้าง
2. วงโคจรระดับปานกลาง (Medium Earth Orbit : MEO)
คือ วงโคจรที่มีระดับความสูงจากพื้นโลกโดยประมาณ 2,000 – 35,500 กิโลเมตร
โดยวงโคจรแบบ MEO มีการใช้ประโยชน์ใน ระบบดาวเทียมนำทาง และอุตุนิยมวิทยา
พวก GPS Glonass Galileo อยู่ในประเภทนี้ครับ
ถ้านึกไม่ออกก็คือ GPS ที่เราใช้เดินเรือกันนั้นเองครับรับสัญญาณมาจากดาวเทียมประเภทนี้
3.วงโคจรระดับต่ำ (Low Earth Orbit : LEO)
คือ วงโคจรที่มีระดับความสูงจากพื้นโลกต่ำกว่า 2,000 กิโลเมตร
โดยวงโคจรแบบ LEO มีการใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน เช่น ดาวเทียมสำรวจโลก
และการทดลองด้านวิทยาศาสตร์
เจ้าดาวเทียมพวกนี้ เราจะเริ่มคุ้นชินกันมากขึ้นครับเพราะเริ่มมีหลายค่ายเริ่ม Adapt
เอามาเป็นดาวเทียมสื่อสารที่เราจะได้ยินกันก็คือ Starlink , oneweb อะไรพวกนี้
ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทการให้บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมในอนาคตครับ
พวกนี้อยู่สูงจากโลกแค่ไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร วงโคจรที่ต่ำมีระดับความสูงจากพื้นไม่มาก
จึงทำให้สัญญาณอินเทอร์เน็ตเสถียร และเร็วกว่าแบบ GEO ครับ
แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการยิงจำนวนดาวเทียมขึ้นไปในอวกาศหลาย ๆ ดวง
เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการครับ