ปฏิเสธไม่ได้ว่าการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์
และเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญในทุกภาคอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่ "วงการเรือ"
ยิ่งยุค Digital อย่าง ณ ปัจจุบันนี้ ที่การติดต่อสื่อสารเข้าถึงทุกซอก ทุกมุมของโลก
ทำให้สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
แต่ก่อนจะมาถึงจุดที่เราสามารถพูดคุยกันข้ามทวีปได้แบบ realtime
คนประจำเรือใช้วิธีไหน? ในการติดต่อสื่อสารกับบริษัทเจ้าของเรือ หรือคนบนฝั่ง
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
รหัสมอร์ส (ค.ศ. 1835)
คือ การส่งข้อความเป็น ชุดสัญญาณเสียง ไฟ หรือ เสียงเคาะ (Click) เปิด-ปิด
ซึ่งผู้ฟังหรือผู้รับสาร ที่มีทักษะจะสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ในการแปล
วิทยุโทรเลข (ค.ศ. 1896)
เป็นการส่งข้อความที่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
แรกเริ่มเดิมทีจะอาศัยพลังแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านสายตัวนำที่โยงถึงกัน
แต่ภายหลังได้ถูกพัฒนาให้สามารถส่งผ่านคลื่นสัญญาณ เป็นการส่งแบบไร้สาย
ดาวเทียม (ค.ศ. 1979)
ถือว่าเป็นยุคที่ทำให้เทคโนโลยีก้าวกระโดด เพราะก่อให้เกิด
การสื่อสารผ่านดาวเทียมให้กับเรือเดินสมุทร
ไม่ใช่เพียงแค่การติดต่อสื่อสาร แต่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้อย่างมาก
โทรศัพท์ไร้สาย (ค.ศ. 1981)
และก็มาถึงยุคที่ทรงอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน
โดยมีการทำงานผ่านคลื่นวิทยุได้ทุกที่ (ที่สัญญาณส่งถึง)
จนปัจจุบันถูกพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อ Internet
เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์ เครื่องเล็ก ๆ
VOIP (ค.ศ. 2003)
เป็นการสื่อสารทางเสียง ที่ทำงานผ่านโครงข่าย Internet
ซึ่งแก้ไขปัญหาการส่งสัญญาณที่ไม่สามารถครอบคลุมมาถึงพื้นที่ทะเล หรือมหาสมุทร
----------------------------------------------------------------------------------------
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือ รูปแบบการติดต่อสื่อสาร
ระหว่าง เรือที่กำลังปฏิบัติงานอยู่กลางทะเล กับ บริษัทเจ้าของเรือนั้น ๆ
ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร ของอุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเล
จะมีความแตกต่างกับ การสื่อสารส่วนบุคคลหรือการสื่อสารบนภาคพื้นดิน อยู่บ้าง