LATEST STORIES

" MEPC 76 ว่าด้วยการใช้มาตรการทางเทคนิคและการปฏิบัติงาน เพื่อลดความเข้มข้นของคาร...
Environment IMO EEXI
1 minute read
ในโลกปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การสื่อสารแ...
Maritime Technology Education Business
1 minute read
วันนี้จะขอนำเสนอ งานวิจัยของ London Economic ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโน...
AI Maritime Technology Environment SmartShip
1 minute read
จากบทความที่แล้วเราคุยกันเรื่อง Smart Ship Technology กับการ Adoption ในประเทศไท...
AI Autonomous PMS SmartShip
1 minute read
เทคโนโลยี IoT ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเพิ่ม productivity ในการทำงานเท่านั้น แต่มันค...
ERP AI Maritime Technology SmartShip
1 minute read
กรมเจ้าท่า เลือกใช้ SPOT GEN4 อุปกรณ์ติดตามตัวผ่านสัญญาณดาวเทียม จาก GLOBALSTAR ...
Ship Business traveler
1 minute read
ในบทความครั้งที่แล้ว เราทิ้งท้ายในประเด็น การศึกษาที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้อง...
AI Ship Maritime Technology Education
1 minute read
About pirates, you might picture the scary man on the boat waving a flag with a ...
History Education
1 minute read
TOP STORIES
  1. วงโคจรดาวเทียมมีกี่ประเภท? แล้วอินเทอร์เน็ตที่ใช้กันในทะเลนั้นมันใช้วงโคจรไหน?
    Jul 07, 2021 ·  1 minute read
  2. The Great Captain Series: คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus)
    Dec 16, 2020 ·  1 minute read
  3. คลองปานามา (Panama Canal) หนึ่งในเส้นทางการเดินเรือสำคัญของโลก
    Dec 11, 2020 ·  1 minute read
  4. จะ SHIP BOAT ก็แปลว่า "เรือ" แล้วมันต่างกันยังไง?
    Aug 05, 2021 ·  1 minute read
  5. มารู้จักปิโตรนาส (Petronas) บริษัทพลังงานเพื่อนบ้านจากมาเลเซีย
    Oct 30, 2019 ·  1 minute read
  6. ฉลามวาฬ (Whale Shark) ฉลามผู้รักสงบ พี่ใหญ่ใจดีตัวจริงแห่งโลกใต้สมุทร
    Nov 16, 2019 ·  1 minute read
  7. เรือในตำนาน 'เดอะฟลายอิ้งดัตช์แมน' ที่แล่นในทะเลชั่วกาล
    Dec 02, 2020 ·  1 minute read
  8. 5 อันดับประเทศยอดฮิตจดทะเบียนเรือ
    Dec 23, 2020 ·  1 minute read

LATEST ARTICLES BY CATEGORIES

Marine Life Offshore Maritime Trend Education Myth
Why is the bottom of the ship painted red? If you look closely, you will see that the lowest half of the hulls of most vessels on the planet are painted red. It is usually buried in water But i... Jun 16, 2022
Environment IMO EEXI
Mar 13, 2023
Energy Efficiency Existing Ship Index (EEXI) " MEPC 76 ว่าด้วยการใช้มาตรการทางเทคนิคและการปฏิบัติงาน เพื่อลดความเข้มข้นของคาร์บอนในการข...
Maritime Technology Education Business
Feb 09, 2023
Digital Transformation กับอุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเล ในโลกปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การสื่อสารและ ถ่ายโอน...
AI Maritime Technology Environment SmartShip
Nov 01, 2022
การใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมทางทะเลต่อผลกระทบด้านความปลอดภัย วันนี้จะขอนำเสนอ งานวิจัยของ London Economic ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยี Smart...
ERP AI Maritime Technology SmartShip
Oct 25, 2022
รุ่งอรุณอนาคตของ IoT , Game Changer ที่ผู้ประกอบการเรือต้องคำนึง เทคโนโลยี IoT ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเพิ่ม productivity ในการทำงานเท่านั้น แต่มันคือ การเปลี...
Maritime Technology Education Business
Feb 09, 2023
Digital Transformation กับอุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเล ในโลกปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การสื่อสารและ ถ่ายโอน...
AI Ship Maritime Technology Education
Jul 21, 2022
10 ข้อ ที่จะต้องยกระดับมาตรฐาน เพื่อรองรับการมาของ Autonomou... ในบทความครั้งที่แล้ว เราทิ้งท้ายในประเด็น การศึกษาที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้อง ยกระดับมา...
History Education
Jul 14, 2022
The Great Captain Series: Ching Shih, the legendary female p... About pirates, you might picture the scary man on the boat waving a flag with a skull and ...
History Education
Jul 13, 2022
Panama Canal, one of the world's major maritime routes Panama Canal is the world's first canal connecting the Pacific and Atlantic Oceans. One of...

ALL ARTICLES BY CATEGORIES

ALL SHOWS & ENTERTAINMENT

Nov 21, 2019
ผู้หญิงยิงเรือ EP6 - กัปตันหนุ่มไขข้อข้องใจเรื่องปัญหาการประมงกับ IUU ผู้หญิงยิงเรือ Ep.6 มาแล้วจ้า "กัปตันหนุ่ม" ไขข้อข้องใจเรื่องปัญหาการป...

Nov 21, 2019
ผู้หญิงยิงเรือ E5 - ตะลุยเรือประมงห้องเย็นภัสสรกับกัปตันหนุ่ม ผู้หญิงยิงเรือ Ep.5 มาแล้วจ้า ครั้งนี้ปลาสด ๆ แช่แข็งมาเต็มเรือ 2,400 ...

Nov 21, 2019
ผู้หญิงยิงเรือ EP4 - ต้นหนสุดฮอตเเห่ง SC NATA ผู้หญิงยิงเรือ‍ Ep.4 มาแล้วจ้า พบกับต้นหน สุด HOT ของเรือ SC NATA "ต้น...

Nov 21, 2019
ผู้หญิงยิงเรือ EP3 - เตรียมออกไป Jasmine Field กับเรือ SC NATA ผู้หญิงยิงเรือ EP3 มาเเล้วจ้า เตรียมตัวออกเรือไป Jasmine Field กับกัปต...

Mar 11, 2020
Expert TALK Ep.3 เอ้ย! 3/O หาบ๊วยมากินดิ เหตุการณ์ที่เกือบจะทำให้กัปตันโก้ เลิกทำงานเรือ และมาฟังต่อกันว่าในยุค Digital disruption วงการเรือควรปรับตัวอย่างไร พ...

Mar 11, 2020
Expert TALK Ep.2 กัปตันโก้ เศกสิษฏ์ ประทุมศรี จะพาคุณขึ้น Liferaft เล่าประสบการณ์สละเรือที่ไฟกำลังไหม้!! เเละยังสอนเรื่องความปลอดภัยบนเรื...

Mar 11, 2020
Expert TALK Ep.1 l พบกับคุณธงชัย วงศ์ขจรกิตติ กับการพลิกวิกฤตใบเหลือง IUU Expert TALK Ep.1 l พบกับ คุณธงชัย วงศ์ขจรกิตติ นายกสมาคมประมงนอกน่านน้...

All about Shows, Entertainment & Podcast

ALL CONTENTS LIBRARY

Filter By Categories

รู้หรือไม่? เส้นประ 9 เส้น (nine-dash line) ที่จีนอ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ จริง ๆ แล้วเคยมี 11 เส้น️

เส้นแบ่งทะเล จีน-02

เรื่องนี้น่าสนใจยังไง?

เพราะทะเลจีนใต้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์มากมาย ประเทศโดยรอบต่างอ้างสิทธิ์ครอบครองพื้นที่และยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด ที่ผ่านมามีการเผชิญหน้ากันอย่างต่อเนื่องระหว่าง จีน, ไต้หวัน, บรูไน, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และ เวียดนาม

เรื่องราวต้องย้อนไปถึงแผนที่ของจีนในปี 1947 ที่จีนยังเป็นสาธารณรัฐจีน (Republic of China-ROC) ตอนนั้นจีนได้ลากเส้นประไว้ทั้งหมด 11 เส้น ครอบคลุมพื้นที่ที่จีนอ้างเป็นเจ้าของมาแต่โบราณกาลและรวมถึงพื้นที่ในทะเลที่ญี่ปุ่นเคยยึดครองในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

ต่อมาเมื่อก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China) โดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ประกาศเป็นตัวแทนจีนอย่างถูกต้องตามกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว จีนยังคงยึดถือการเป็นเจ้าของสิทธิทางทะเลตามแผนที่เดิมนั้นทั้งหมด

ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 สมัยนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล จีนได้ยกเลิกเส้นประ 2 เส้นที่ลากผ่านอ่าวตังเกี๋ย เพื่อแสดงไมตรีจิตต่อเวียดนามเหนือ ซึ่งถือเป็นชาติคอมมิวนิสต์เพื่อนบ้าน

ดังนั้นจึงเหลือเพียงเส้นประ 9 เส้นบนแผนที่ ซึ่งก็ครอบคลุมน่านน้ำในทะเลจีนใต้ร่วม 90% ไกลออกจากแผ่นดินใหญ่ไปถึง 2,000 กิโลเมตร

แผนที่นี้มันก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร จนกระทั่งเกิดมีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งทำขึ้นในปี 1982 (UNCLOS) โดยยึดถือลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ์ ซึ่งในสัญญาระบุว่าประเทศมีอำนาจอธิปไตยเหนือน่านน้ำความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเลจากแผ่นดิน และมีสิทธิเฉพาะในการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจออกไปอีก 200 ไมล์ทะเล

พอเป็นแบบนี้เขตแดนมันก็เกิดการทับซ้อนกันจนเป็นปัญหา จีนโต้แย้งว่า แผนที่เส้นประ 9 เส้นเกิดขึ้นตามระเบียบโลกใหม่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีกฎหมายรองรับ และทำตามการอนุญาตของชาติฝ่ายสัมพันธมิตร อีกทั้งเหล่าประเทศที่มีปัญหากับจีน รวมทั้งสหรัฐฯ ที่เข้ามาแทรกแซงข้อพิพาทในตอนนี้ ก็มิได้แสดงการคัดค้านในเวลานั้น

จีนได้ให้สัตยาบันต่อ UNCLOS ในปี 1992 แต่ก็ไม่เคยมีการยื่นเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์ภายในเส้นประ 9 เส้นอย่างเป็นทางการเลย

นักวิเคราะห์มองว่า จีนจงใจไม่ให้คำนิยามความหมายของเส้นประ 9 เส้นในทางกฎหมาย และไม่มีการชี้แจงว่า มีสิทธิอะไรบ้างภายในพื้นที่ดังกล่าว สร้างความกำกวมคลุมเครือให้เกิดขึ้นในวงกว้าง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่จีนชอบใช้มานาน และไม่เคยต่อสู้กับกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเปิดเผย แต่ชอบเหลือช่องว่างเผื่อไว้ให้อ้างอย่างไม่ชัดเจนต่อไปเรื่อย ๆ

สถานการณ์ในเขตทะเลนี้ครุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา เอาแค่ช่วงปี 2016-2019 ได้มีเรือยามชายฝั่งและเรือรบของจีนรุกล้ำน่านน้ำของมาเลเซียรวมทั้งสิ้น 89 ครั้ง และแม้มีการเตือนขับไล่ให้ออกไป แต่เรือก็จะวนเวียนอยู่ในพื้นที่ต่อไป นี่ยังไม่นับรวมการรุกล้ำกันและกันของชาติอื่น ๆ

และในท่ามกลางยุคโควิด-19 แบบนี้ เรื่องราวมันดูจะยิ่งร้อนแรงมากกว่าเดิม เมื่อสหรัฐฯ ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่า ‘ไม่ยอมรับ’ การอ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ของจีน

บทสรุปจะเป็นอย่างไรนั้นยากคาดเดา แค่ขออย่าให้มีอะไรรุนแรงเกิดขึ้นก็แล้วกัน เท่าที่ผ่านมาต่างฝ่ายเลือกเพียงแค่การข่มขู่กันให้เป็นประเด็นเท่านั้น

อ้างอิง

Tags :   Maritime Trend

Leave Your Comments

RELATED ARTICLES