เรือของใครมีสครับเบอร์ (scrubber) แล้วยกมือขึ้น? เรือลำไหนมีแล้วสบายใจได้ เพราะผ่านเกณฑ์การจำกัดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ของ IMO เรียบร้อยแล้ว
ประเด็นที่ว่าการติดตั้งสครับเบอร์ให้กับเรือจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่นั้นดูจะไม่ค่อยสำคัญสักเท่าไรในช่วงเวลานี้ เพราะทุกองค์กรปวดหัวกับการแก้ปัญหารายวันอันเนื่องมาจากโควิด-19 มากกว่า แต่หากเทียบกับราคาน้ำมันที่เหวี่ยงขึ้น ๆ ลง ๆ แล้ว ก็นับได้ว่าการลงทุนกับสครับเบอร์ยังค่อนข้างคุ้มอยู่ เราลองมาตามดูกันว่าเรือประเภทไหนติดตั้งเจ้าอุปกรณ์นี้กันไปบ้างแล้ว
ขยายความสักนิด
สครับเบอร์คืออุปกรณ์สำหรับฟอกอากาศโดยดักจับก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์จากไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ในเรือ
จากสถิติตั้งแต่เดือนมกราคม 2019 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2020 เจ้าของเรือคอนเทนเนอร์และเรือบัลก์ดูกระตือรือร้นในการนำเรือเข้าติดตั้งสครับเบอร์ จนสัดส่วนของเรือคอนเทนเนอร์แซงของเรือขนส่งน้ำมันไปแล้วจากที่เคยตามหลังมาตลอด ยิ่งเป็นเรือขนาดใหญ่แล้วสัดส่วนการติดตั้งในเรือประเภทเดียวกันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
คาดว่าภายในสิ้นปี 2020 เรือคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ (VLCC และ Capesize) ที่ติดตั้งสครับเบอร์จะมีสัดส่วนถึง 35% และเรือขนาด 15,000+ TEU (Post-Panamax) จะทยอยติดตั้งเพิ่มจนมีสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว
เรือคอนเทนเนอร์ที่กำลังสร้างใหม่เกินกว่าครึ่งจะติดตั้งสครับเบอร์มาเรียบร้อย รวมถึงเรือขนส่งน้ำมันที่กำลังสร้างใหม่ด้วย
รายงานยังบอกอีกว่ามีเรือ 429 ลำที่รอติดตั้งสครับเบอร์เพิ่มเติม (retrofit) ซึ่งหากนับรวมทั้งเรือที่ติดตั้งแล้ว รอติดตั้ง และที่มาพร้อมเรือใหม่ จะเท่ากับว่า ปัจจุบันมีเรือที่ติดสครับเบอร์แล้วแยกเป็นเรือคอนเทนเนอร์ 31.6% เรือขนส่งน้ำมัน 30.9% และเรือบัลก์ 23.5% ของเรือในประเภทเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม แม้มีแนวโน้มที่ตัวเลขการติดตั้งจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่พอดูตัวเลขที่นับกันเฉพาะในกลุ่มเรือขนส่งสินค้าหลักทั้งหมด 20,000 ลำ พบเพียง 2,600 ลำเท่านั้นที่ติดตั้งสครับเบอร์แล้วเสร็จ
นับว่าน้อยนัก
กับการสู้ปัญหาโลกร้อน
อ้างอิง