คลองไทยเมกะโปรเจกต์ในฝันของคนไทย เเนวคิดที่เริ่มต้นมาตั้งเเต่สมัยออเจ้า ถึงวันนี้ ทำไมยังไม่เกิดขึ้นสักที? มีคำตอบ!
คลองไทย คือ เเนวคลองศึกษาหมายเลข 9A มีความยาวประมาณ 135 กิโลเมตรตัดผ่าน 5 จังหวัดได้เเก่ ตรัง กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง เเละ สงขลา
เริ่มต้นบัญญัติชื่อ 'คลองไทย' ในปี พ.ศ. 2548 โดย "คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการขุดคอคอดกระ" เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินเรือเชื่อมระหว่างทะเลฝั่งอ่าวไทยกับทะเลฝั่งอันดามันบริเวณผืนดินที่เเคบที่สุดของประเทศ ซึ่งเเนวคิดนี้มีมาตั้งเเต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เเห่งกรุงศรีอยุธยา
โดยประเด็นสำคัญของการจะขุดคลองต้องพิจารณาถึง เศรษฐกิจ, ความมั่นคง, การเมือง, สังคม เเละ สิ่งเเวดล้อม
ในเเง่ของการย่นระยะเวลาการเดินเรือเเละการประหยัดค่าใช้จ่ายของเรือ
อ้างอิงจากการศึกษาขององค์การส่งเสริมการค้าของประเทศญี่ปุ่น (JETRO) ที่เปรียบเทียบการเดินเรือในเส้นทางปกติกับเส้นทางที่ต้องผ่านคลองไทย ระหว่างเมืองท่าในมหาสมุทรอินเดียกับเมืองท่าของประเทศเเถบตะวันออกไกลสามารถย่นระยะทางได้ประมาณ 899 กิโลเมตรหรือช่วยประหยัดเวลาเพียง 1 วันเท่านั้น
ทั้งนี้ยังต้องนำความกว้างของคลองเเละการยกเรือในคลองมาพิจารณาเพราะมีผลกับการ Flow ของเรือในคลองเเละการรอคิวที่จะกินเวลาของเรือที่ใช้บริการเข้าไปอีก
อีกทั้งในการเดินเรือผ่านคลองขุด จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียม ค่านำร่อง เเละค่าบริการต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งหากเทียบกับการเดินเรือผ่านทางช่องเเคบมะละกาเเล้ว เรือไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเเละยังสามารถทำความเร็วได้ปกติ
ในเเง่ของความจำเป็นทางการทหาร
พบว่ามีความสำคัญเฉพาะในสถาณการณ์ที่กองทัพเรือมีความจำเป็นต้องป้องกันประเทศทั้งสองฝั่งคือฝั่งอ่าวไทยเเละอันดามันพร้อมกัน หรือใช้เป็นเส้นทางออกสู่ทะเลอันดามันในกรณีอ่าวไทยถูกปิดล้อม ส่วนข้อเสียพบว่าการมีคลองเป็นอุปสรรคเเก่การเคลื่อนกำลังพลทางบกที่ต้องใช้สะพาน ในภาวะสงครามสะพานข้ามคลองไทยจะเป็นเป้าหมายหลักอันดับเเรกในการโจมตี หรือทำลายเรือให้จมขวางการใช้งานของคลองไทย
ในเเง่ของความจำเป็นทางเศรษฐกิจกับการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
พบว่ายังไม่มีงานวิจัยรองรับ เเต่หากเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจของประเทศที่มีคลองขุดอยู่เเล้วอย่าง ปานามา(คลองปานามา) หรือ อียิปต์(คลองสุเอช) ก็พบว่าไม่ได้มีเศรษฐกิจที่ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดหรือร่ำรวยจากการมีคลองเเต่อย่างใด อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหารคลองเเละสิ่งก่อสร้างต่างๆนั้นสูงมาก หากเทียบกับรายได้ซึ่งน้อยกว่าเเละมีความไม่เเน่นอนขึ้นกับปัจจัยหลายประการที่ผู้ใช้บริการจะนำไปเปรียบเทียบเพื่อหาเส้นทางอื่นที่มีค่าบริการถูกกว่า อีกทั้งจากการศึกษาพบว่าการมีคลองขุดไม่เป็นประโยชน์กับกองเรือไทยมากนักเพราะมีขนาดเล็กเเละวิ่งขนส่งจากเมืองท่าต่างๆไปยังท่าเรือหลัก (Feeder) เป็นส่วนใหญ่
สรุปจากการพิจารณาศึกษาความจำเป็นเเละความคุ้มค่าของการขุดคลองไทยที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยยังไม่มีความจำเป็นทั้งทางด้านการทหารเเละด้านเศรษฐกิจ
เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยสนับสนุนถึงความเป็นไปได้ในการพลิกเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตเเบบก้าวกระโดด
เเต่ผลกระทบที่สามารถเห็นได้ชัดเจนคือผลกระทบทางด้านลบต่อสิ่งเเวดล้อมเเละระบบนิเวศน์
อีกทั้งโครงการคลองไทยเป็นโครงการที่มีต้นทุนสูงถึง 1.6 ล้านล้านบาท ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างที่ยาวนาน
ด้วยศักยภาพทางเศรษฐกิจเเละเทคโนโลยีของประเทศไทยซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้
การที่จะต้องกู้เงินมหาศาลจากต่างชาติมาลงทุนจึงถือว่ามีความเสี่ยงหากจะต้องลงทุนกับสิ่งที่มองเห็นเเต่ผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างประเมินค่ามิได้
อ้างอิง
บทความ 'ถอดบทเรียนจากคลองคีลจำเป็นหรือไม่ในการขุดคลองไทย' โดยพลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์, นิตยสาร TSA