ไม่ว่าคุณจะ Line กับทางบ้าน, จะ Comment โพสของเพื่อน, ส่งเมล์เพื่อธุระ หรือแม้แต่จะดูวีดีโอ
มันคงจะเป็นเรื่องง่ายถ้าคุณจะทำกิจกรรมเหล่านี้บนฝั่ง เพราะเดี๋ยวนี้ 4G/5G พร้อมอยู่ตลอด
ด้วยระบบโครงสร้างการสื่อสาร บนผืนแผ่นดินไทยที่เพรียบพร้อม
แต่เพื่อนๆ ชาวเรือทั้งหลายคงทราบกันดีว่า เรื่องเหล่านี้ในทะเล - บนเรือของพวกเรานั้นก็ทำได้
ถึงแม้สัญญาณจะไม่ได้แรงเท่าบนฝั่ง แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้
อินเทอร์เน็ตบนเรือ ในขณะนี้ก็ถือว่าพัฒนามาไกลแล้ว สำหรับการสื่อสารทางทะเล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ถ้าพี่ ๆ ชาวเรืออยากจะดูว่า เทคโนโลยีการติดต่อของคนเรือมีอะไรบ้าง
สามารถ คลิกที่ภาพ ด้านล่างได้เลย
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าที่เรียกกันติดปากว่า Vsat นั้นก็คือ
ชื่อเรียกของ จาน หรือ โดม ที่อยู่บนดาดฟ้าบนสะพานเดินเรือนั้นแหละ
VSAT หรือ Very Small Aperture Terminal
เป็นจานดาวเทียมสื่อสารขนาดเล็กมีขนาดจานจะอยู่ที่ประมาณ 60 cm. - 100 cm.
โดยส่งสัญญาณให้บริการเสียง (Voice) เช่น VOIP, บริการภาพ (Video) หรือ Video call ต่าง ๆ
การให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยมีองค์ประกอบหลัก ๆ คือ
1. ช่องสัญญาณดาวเทียม (Satellite Transponder)
2. สถานีบนฝั่งภาคพื้นที่คอยรับ – ส่งสัญญาณกับดาวเทียม (HUB Earth Station)
3. VSAT Terminal (ชุดที่อยู่บนหลังคาดาดฟ้าสะพานเดินเรือ)
โดยทั้ง ข้อ 2 และ 3 จะมีอุปกรณ์ที่เหมือนกัน คือ
- จานสายอากาศ (A Dish Antenna)
- A Transceiver (or a combination of BUS and LNB)
- Satellite modem หน้าที่คล้ายกับ Modem อินเทอร์เน็ตที่เรารู้จักกัน
เพียงแต่เอามาใช้กับสัญญาณดาวเทียม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เจ้า Vsat Terminal นี้แหละ ที่ทีมงาน Ship Expert ของเราต้องไปติดตั้งให้พี่ ๆ ชาวเรือได้ใช้กันครับ
***ถ้าสนใจเรื่องการติดตั้ง สามารถ คลิกที่ภาพ ด้านล่างได้เลย***
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ถ้า Vsat คือจาน แล้วสัญญาณหละ?
โดยส่วนมากสัญญาณที่ชาวเรือใช้งาน เพื่อเล่น Internet กันอยู่นั้นมันคือ Ku Band
มีคลื่นความถี่ 12 – 18 Ghz ด้วยคุณสมบัติของคลื่นความถี่ที่สูง
จึงสามารถใช้จานขนาดเล็ก 30 – 100 cm. ทำให้ติดตั้งและขนย้ายได้ง่ายกว่าจานประเภทอื่น
จึงไม่แปลกที่จะใช้ จานประเภท Vsat มารับสัญญาณบนเรือของเรา
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
โดยบริการของ Ship Expert นั้น ใช้ดาวเทียมวงโคจร แบบ GEO
ถ้าชาวเรือสนใจเรื่อง วงโคจรดาวเทียม สามารถ คลิกที่ภาพ ด้านล่างได้เลย
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รู้จัก KU Band กันแล้ว และ Band อื่นหละ
คำว่า L-band, Ku และ Ka satellite นั้นถูกใช้ปนกันรวม ๆ กันว่าเป็นสัญญาณดาวเทียมสื่อสารทางทะเล
แต่รู้หรือไม่ว่าความแตกต่างระหว่าง Band เหล่านี้คืออะไร?
ถ้าเป็นชาวเรือยุค 80 – 90 (อิอิ) เอาเป็นว่ายุคสมัยที่เราใช้ Inmarsat A , B , C
ซึ่งเจ้า Inmarsat C ก็คือหนึ่งในระบบ GMDSS ในสมัยนั้นนอกจากวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
ทางด้านความปลอดภัยทางทะเลแล้ว มันก็ยังถูกใช้ในภารกิจทาง Business ด้วย เจ้านี้แหละคือ L-Band
นอกเรื่องมาไกลละครับกลับมาที่ Band ของเราดีกว่า “แบนด์” ที่ใช้หมายถึงความถี่วิทยุ
ที่ใช้ในระบบการรับส่งสัญญาณดาวเทียม
L –Band จะมีคลื่นสัญญาณใช้งานอยู่ที่ 1 to 2GHz , KU-Band จะอยู่ระหว่าง 12 to 18 GHz ,
KA- Band จะอยู่ระหว่าง 26.5-40GHz แล้วนัยสำคัญของตัวเลขความถี่ที่กล่าวมาแล้วมันคืออะไร?
โดยทั่วไป ยิ่งความถี่สูงเท่าใด Bandwidth ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
ถ้ามองภาพไม่ออกก็ลองเปรียบเทียบกับคลื่นวิทยุ FM/AM ดูครับ
วิทยุ FM ความถี่วิทยุ จะสูงกว่า 100MHz ซึ่งให้ Bandwidth ที่มากกว่าคลื่น AM (1MHz)
FM จึงมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่าไงครับ ถ้าจะเปรียบกับคลื่นสัญญาณดาวเทียมแล้วละก็
KA-Band ก็สัญญาณแรงที่สุดครับ รองลงมาคือ KU-Band และพี่ปู่ L-Band ของเรา
จึงไม่แปลกที่เจ้า KA – Band ที่ใช้กับจาน Vsat บนเรือจะให้สัญญาณ Internet ที่แรงกว่า L-Band
แต่ทั้งนี้ก็อย่าไปด้อยค่า L-Band เค้านะครับ ท่านปู่ของเรามีขีดความสามารถบางอย่างที่หลาน ๆ
อย่าง KA,KU ทำไม่ได้นะครับ มันถึงได้ถูกบรรจุอยู่ในระบบ GMDSS ไงครับ
***สนใจอ่านต่อเรื่อง GMDSS ได้ที่นี่นะครับ***
https://www.fcc.gov/bureau-divisions/mobility-division/ship-radio-stations/global-maritime-distress-and-safety-system
หลังเดือนมกราคม 2020 มีผู้ให้บริการดาวเทียมในระบบ GMDSS ที่ผ่านการรับรอง 2 ราย
คือ INMARSAT ซึ่งใช้ดาวเทียมในวงโคจร GEO และ IRIDIUM ซึ่งมีกลุ่มดาวเทียมถึง 66 ดวง
โดยใช้วงโคจรต่ำแบบ LEO ที่สามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการที่สูงกว่าและมีขีดความสามารถ
ในการรับสัญญาณที่ดีกว่าเพราะตัวดาวเทียมอยู่ต่ำกว่าเจ้า GEO ของ Inmarsat
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
"L- Band" คุณปู่ ที่ทนต่อสภาพอากาศ VS "KU-Band" หลานจอมซ่าที่แรงแต่ไม่ทน
ใช่ครับคุณฟังไม่ผิดหรอก สภาพอากาศที่แปรปรวนในทะเลนั้นทำให้ L-Band คือพระเอก
ที่จะสามารถดำรงการติดต่อสื่อสารเอาไว้ได้อย่างดีเยี่ยม จึงถูกใช้เพื่อความปลอดภัย
ส่วนเจ้า KU ถ้าเปรียบก็คือหลานจอมซ่าที่แรงแต่ไม่อดทนเอาเสียเลยกับสภาพอากาศ
คำว่าแรงที่ว่าคือ KU ให้ speed Internet ที่แรงกว่า L- Band หลายเท่า
จากการที่ ดาวเทียม KU GEO ที่อยู่เหนือผิวโลกสูงประมาณ 36,000 กิโลเมตร
ส่งสัญญาณแค่ไม่กี่วัตต์ออกมา เจอสภาพบรรยากาศของโลกสัญญาณก็จะถูกหน่วงไปประมาณ 200 dB
แล้วพอมาถึงพื้นโลกนั้นสัญญาณที่เหลือจะอ่อนมากๆ
รวมถึงช่วงคลื่น Ku Band ที่จะอยู่ในช่วง 10 – 14 GHz ความถี่สูงกว่า L-Band
จานรับสัญญาณดาวเทียมก็จะมีลักษณะใหญ่กว่า ในขณะที่ย่าน L-Band จะใช้ความถี่ต่ำกว่า
อุปกรณ์จึงสามารถมีขนาดเล็กกว่ามากกว่า KU Band แต่ความเร็วไม่แรงเท่าเจ้าหลานจอมซ่าครับผม
ชาวเรือจะเห็นแล้วใช่ไหมครับว่า ทั้งคู่มีประโยชน์ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
Internet ที่แรงของเจ้า Ku ช่วยให้เราใช้งาน Internet ได้ไม่ติดขัด ราบลื่น
และถ้าเพื่อการสันทนาการแล้วหละ ก็ต้องเค้าเลยครับ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บริการของ Ship Expert มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีในกิจการทางทะเลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
และการทำงานงานที่ดีปลอดภัยของคนประจำเรือ เรามุ่งเน้นที่การให้บริการที่มีคุณภาพ
โดยผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ ถ้าท่านใดสนใจบริการของเราสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่
สุดท้ายนี้ท่านใดสนใจบทความดีดีสามารถติดตามที่ Blog ของเราได้ตาม Link นี้นะครับ
https://blog.shipexpert.net/blog