LATEST STORIES

" MEPC 76 ว่าด้วยการใช้มาตรการทางเทคนิคและการปฏิบัติงาน เพื่อลดความเข้มข้นของคาร...
Environment IMO EEXI
1 minute read
ในโลกปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การสื่อสารแ...
Maritime Technology Education Business
1 minute read
วันนี้จะขอนำเสนอ งานวิจัยของ London Economic ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโน...
AI Maritime Technology Environment SmartShip
1 minute read
จากบทความที่แล้วเราคุยกันเรื่อง Smart Ship Technology กับการ Adoption ในประเทศไท...
AI Autonomous PMS SmartShip
1 minute read
เทคโนโลยี IoT ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเพิ่ม productivity ในการทำงานเท่านั้น แต่มันค...
ERP AI Maritime Technology SmartShip
1 minute read
กรมเจ้าท่า เลือกใช้ SPOT GEN4 อุปกรณ์ติดตามตัวผ่านสัญญาณดาวเทียม จาก GLOBALSTAR ...
Ship Business traveler
1 minute read
ในบทความครั้งที่แล้ว เราทิ้งท้ายในประเด็น การศึกษาที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้อง...
AI Ship Maritime Technology Education
1 minute read
About pirates, you might picture the scary man on the boat waving a flag with a ...
History Education
1 minute read
TOP STORIES
  1. วงโคจรดาวเทียมมีกี่ประเภท? แล้วอินเทอร์เน็ตที่ใช้กันในทะเลนั้นมันใช้วงโคจรไหน?
    Jul 07, 2021 ·  1 minute read
  2. The Great Captain Series: คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus)
    Dec 16, 2020 ·  1 minute read
  3. จะ SHIP BOAT ก็แปลว่า "เรือ" แล้วมันต่างกันยังไง?
    Aug 05, 2021 ·  1 minute read
  4. คลองปานามา (Panama Canal) หนึ่งในเส้นทางการเดินเรือสำคัญของโลก
    Dec 11, 2020 ·  1 minute read
  5. ฉลามวาฬ (Whale Shark) ฉลามผู้รักสงบ พี่ใหญ่ใจดีตัวจริงแห่งโลกใต้สมุทร
    Nov 16, 2019 ·  1 minute read
  6. มารู้จักปิโตรนาส (Petronas) บริษัทพลังงานเพื่อนบ้านจากมาเลเซีย
    Oct 30, 2019 ·  1 minute read
  7. เรือในตำนาน 'เดอะฟลายอิ้งดัตช์แมน' ที่แล่นในทะเลชั่วกาล
    Dec 02, 2020 ·  1 minute read
  8. 'วาฬบรูด้า' สัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ท้องทะเลไทย
    Dec 01, 2020 ·  1 minute read

LATEST ARTICLES BY CATEGORIES

Marine Life Offshore Maritime Trend Education Myth
Why is the bottom of the ship painted red? If you look closely, you will see that the lowest half of the hulls of most vessels on the planet are painted red. It is usually buried in water But i... Jun 16, 2022
Environment IMO EEXI
Mar 13, 2023
Energy Efficiency Existing Ship Index (EEXI) " MEPC 76 ว่าด้วยการใช้มาตรการทางเทคนิคและการปฏิบัติงาน เพื่อลดความเข้มข้นของคาร์บอนในการข...
Maritime Technology Education Business
Feb 09, 2023
Digital Transformation กับอุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเล ในโลกปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การสื่อสารและ ถ่ายโอน...
AI Maritime Technology Environment SmartShip
Nov 01, 2022
การใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมทางทะเลต่อผลกระทบด้านความปลอดภัย วันนี้จะขอนำเสนอ งานวิจัยของ London Economic ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยี Smart...
ERP AI Maritime Technology SmartShip
Oct 25, 2022
รุ่งอรุณอนาคตของ IoT , Game Changer ที่ผู้ประกอบการเรือต้องคำนึง เทคโนโลยี IoT ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเพิ่ม productivity ในการทำงานเท่านั้น แต่มันคือ การเปลี...
Maritime Technology Education Business
Feb 09, 2023
Digital Transformation กับอุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเล ในโลกปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การสื่อสารและ ถ่ายโอน...
AI Ship Maritime Technology Education
Jul 21, 2022
10 ข้อ ที่จะต้องยกระดับมาตรฐาน เพื่อรองรับการมาของ Autonomou... ในบทความครั้งที่แล้ว เราทิ้งท้ายในประเด็น การศึกษาที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้อง ยกระดับมา...
History Education
Jul 14, 2022
The Great Captain Series: Ching Shih, the legendary female p... About pirates, you might picture the scary man on the boat waving a flag with a skull and ...
History Education
Jul 13, 2022
Panama Canal, one of the world's major maritime routes Panama Canal is the world's first canal connecting the Pacific and Atlantic Oceans. One of...

ALL ARTICLES BY CATEGORIES

ALL SHOWS & ENTERTAINMENT

Nov 21, 2019
ผู้หญิงยิงเรือ EP6 - กัปตันหนุ่มไขข้อข้องใจเรื่องปัญหาการประมงกับ IUU ผู้หญิงยิงเรือ Ep.6 มาแล้วจ้า "กัปตันหนุ่ม" ไขข้อข้องใจเรื่องปัญหาการป...

Nov 21, 2019
ผู้หญิงยิงเรือ E5 - ตะลุยเรือประมงห้องเย็นภัสสรกับกัปตันหนุ่ม ผู้หญิงยิงเรือ Ep.5 มาแล้วจ้า ครั้งนี้ปลาสด ๆ แช่แข็งมาเต็มเรือ 2,400 ...

Nov 21, 2019
ผู้หญิงยิงเรือ EP4 - ต้นหนสุดฮอตเเห่ง SC NATA ผู้หญิงยิงเรือ‍ Ep.4 มาแล้วจ้า พบกับต้นหน สุด HOT ของเรือ SC NATA "ต้น...

Nov 21, 2019
ผู้หญิงยิงเรือ EP3 - เตรียมออกไป Jasmine Field กับเรือ SC NATA ผู้หญิงยิงเรือ EP3 มาเเล้วจ้า เตรียมตัวออกเรือไป Jasmine Field กับกัปต...

Mar 11, 2020
Expert TALK Ep.3 เอ้ย! 3/O หาบ๊วยมากินดิ เหตุการณ์ที่เกือบจะทำให้กัปตันโก้ เลิกทำงานเรือ และมาฟังต่อกันว่าในยุค Digital disruption วงการเรือควรปรับตัวอย่างไร พ...

Mar 11, 2020
Expert TALK Ep.2 กัปตันโก้ เศกสิษฏ์ ประทุมศรี จะพาคุณขึ้น Liferaft เล่าประสบการณ์สละเรือที่ไฟกำลังไหม้!! เเละยังสอนเรื่องความปลอดภัยบนเรื...

Mar 11, 2020
Expert TALK Ep.1 l พบกับคุณธงชัย วงศ์ขจรกิตติ กับการพลิกวิกฤตใบเหลือง IUU Expert TALK Ep.1 l พบกับ คุณธงชัย วงศ์ขจรกิตติ นายกสมาคมประมงนอกน่านน้...

All about Shows, Entertainment & Podcast

ALL CONTENTS LIBRARY

read
Updated : December 25, 2020
บนดาวที่มีพื้นที่เป็นน้ำ 71% ของพื้นที่ทั้งหมด ยังมีทรัพยากรหลับไหลรอการขุดค้นอยู่ มันคือสิ่งที่มนุษย์ควรทำแล้วหรือไม่?
By Ship Expert Technology
Filter By Categories

ปัจจุบันความต้องการแร่จำพวกโลหะเพื่อมาเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแก็ดเจ็ตส์ในชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า อีกไม่นานแหล่งวัตถุดิบที่มีบนผืนแผ่นดินจะหมดไป

เพื่อไม่ให้ความก้าวหน้าหยุดชะงัก มนุษย์เริ่มมองหาแหล่งทรัพยากรใหม่ ซึ่งสถานที่ที่ครอบคลุมพื้นที่ของโลกมากกว่าครึ่งและยังถือเป็นแหล่งขุดค้นแร่ชั้นดีที่ใหญ่ที่สุดบนดาวเคราะห์ดวงนี้คือ โลกใต้มหาสมุทร

และนี่คือที่มาของโครงการ ‘Deep Sea Mining’ หรือ ‘เหมืองแร่ใต้ทะเลลึก’

รู้จักกับ Deep Sea Mining

เหมืองแร่ใต้ทะเลลึกคือโปรเจกต์ของการขุดค้นแร่ใต้ทะเลลึกขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าต่าง ๆ

เป็นการมุ่งเน้นหาแหล่งแร่ในระดับความลึกตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป โดยเฉพาะพื้นที่รวมตัวของแร่โลหะอย่างก้อนโพลีเมทัลลิก (Polymetallic Nodule) หรือบริเวณปล่องน้ำร้อนมหาสมุทรที่ความลึก 1,400 - 3,700 เมตรใต้ทะเล ซึ่งเป็นสถานที่ก่อตัวของแหล่งซัลไฟด์ขนาดใหญ่ (Massive Sulfide) อุดมไปด้วยแร่เงิน ทอง ทองแดง โคบอลต์ แมงกานีส และซิงก์

ปัจจุบันยังไม่มีการทำเหมืองแร่ใต้ทะเลอย่างเต็มรูปแบบ ยังอยู่ในขั้นตอนที่ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาเก็บข้อมูลของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศก้นมหาสมุทร เนื่องด้วยความรู้ความเข้าใจอันน้อยนิดหรือแทบจะเป็นศูนย์ ทำให้ยากต่อการคาดเดาถึงผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ใต้ทะเลลึกได้อย่างถี่ถ้วน

เส้นทางและความคืบหน้าของ ‘เหมืองแร่ใต้ทะเลลึก’

การพยายามขุดเอาแร่จากใต้ทะเลเริ่มมีมาตั้งแต่ยุคปี 1970 แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างและต้องใช้เม็ดเงินลงทุนมหาศาลจึงไม่คุ้มค่านักในสมัยนั้น โครงการจึงเกือบถูกทิ้งร้างไป

แต่ปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี บวกกับความต้องการวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้เหมืองแร่ใต้ทะเลกลายเป็นทางออกที่หลายประเทศมองหา

แหล่งแร่ใต้ทะเลกระจายตัวไปทั่วน่านน้ำต่าง ๆ เช่น น่านน้ำเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone / EEZ) ของปาปัวนิวกินีคือหนึ่งในแหล่งแร่ซัลไฟด์ขนาดใหญ่ โดยบริษัทนอทิลัส มิเนอรัลส์ (Nautilus Minerals Inc.) จากแคนาดา เป็นบริษัทแรกของโลกที่ได้รับใบอนุญาตการทำเหมืองแร่จากรัฐบาลปาปัวนิวกินี และได้เริ่มทำการสำรวจขุดค้นแร่ตั้งแต่ปี 2007

ตลอดระยะเวลาดำเนินการมีกระแสต่อต้านจากชุมชนอย่างหนัก และยังไม่ทันที่จะประสบความสำเร็จในการขุดค้นแร่ บริษัทนอทิลัส มิเนอรัลส์ถูกฟ้องล้มละลายในปี 2019 จากความล้มเหลวการบริหารด้านการเงินสร้างหนี้สินทิ้งไว้เป็นจำนวนหลายล้านดอลลาร์

นอกจากนี้ ยังมีเขตรอยแยกคลาเรียน คลิปเปอร์ตัน (Clarian-Clipperton Fracture Zone / CCFZ) ซึ่งอุดมไปด้วยก้อนแมงกานีส (Manganese Module) นับเป็นจุดที่ได้รับความสนใจในการทำเหมืองแร่จากบริษัทและสถาบันวิชาการต่าง ๆ มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในบริเวณนี้อย่างต่อเนื่องนานกว่า 40 ปี โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเข้มงวดขององค์การก้นทะเลระหว่างประเทศ (International Seabed Authority / ISA) ที่คอยกำกับดูแลเขตน่านน้ำสากล มรดกแห่งมนุษยชาติ

นับจนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2018 ISA ได้ออกสัญญารวม 29 ฉบับให้กับบริษัททำเหมืองต่าง ๆ ในการสำรวจสายแร่ใต้ทะเลบนพื้นที่มากกว่า 1.5 ล้านตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย ตลอดจนแนวตอนกลางมหาสมุทรแอตแลนติก

ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งละเอียดอ่อนที่ ยังต้องการความเข้าใจและศึกษาข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม เพื่อวางแนวทางป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ISA ได้เริ่มต้นร่างข้อกำหนดการทำเหมืองใต้ทะเลแล้ว และคาดว่าการทำเหมืองเพื่อการพาณิชย์ในน่านน้ำสากลจะเริ่มขึ้นในปี 2025

 

Untitled-1-02-3

โลกใต้ทะเลลึกจะเป็นอย่างไรถ้ามี ‘เหมืองแร่’

เขตทะเลลึกยังคงเป็นโลกลี้ลับสำหรับมนุษย์ ด้วยระดับความลึกราวกับตัดขาดจากโลกภายนอก มีสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศที่เรายังไม่รู้จักอาศัยอยู่ จากความรู้เพียงน้อยนิดทำให้เราแทบไม่สามารถคาดเดาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้อย่างถ่องแท้

นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าการทำเหมืองแร่อาจรบกวนระบบนิเวศที่ละเอียดอ่อนเหล่านั้น จนถึงขั้นที่จะทำลายล้างความหลากหลายทางชีวภาพใต้ทะเลบริเวณนั้นเลยก็เป็นได้

เกิดการถกเถียงมากมายเกี่ยวกับประเด็นนี้และผลกระทบอื่นต่อโลกใต้น้ำที่ไม่อาจมองข้ามได้

  • หายนะของโลกใต้น้ำที่ไม่อาจย้อนกลับ เครื่องจักรที่ขุดค้นแร่จะก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ เสียงรบกวนและแสงไฟ ส่งผลกระทบต่อถิ่นที่อยู่และสิ่งมีชีวิตบริเวณก้นมหาสมุทรที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างร้ายแรง
    การไถหน้าดินขุดค้นแร่ก่อให้เกิดตะกอนฟุ้งกระจายเป็นวงกว้าง สามารถอุดตันระบบหายใจของเหล่าสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลได้ อีกทั้งการปล่อยสารพิษจากเรือของเหมืองแร่บนผิวน้ำจะเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลในบริเวณกว้างหลายร้อยหลายพันกิโลเมตรเลยทีเดียว
  • สิ่งมีชีวิตในทะเลลึกจะสูญพันธุ์ สิ่งมีชีวิตบางสายพันธุ์อาศัยอยู่แค่ในพื้นที่จำเพาะใต้ทะเลเท่านั้น การทำเหมืองแร่จะทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยเพียงแห่งเดียวของมัน เท่ากับทำลายล้างสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นให้สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ด้วย
    พื้นที่ก้นสมุทรเกิดจากการก่อตัวสะสมหลายล้านปี เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า มันจะสามารถฟื้นตัวกลับมาดังเดิมได้หรือไม่
  • สูญเสียพันธมิตรต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) สัตว์ทะเลและพืชใต้น้ำเป็นตัวช่วยดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไว้ใต้มหาสมุทร ทำให้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นช้าลง การที่เราไปรบกวนระบบนิเวศของมันอาจเป็นการรบกวนกระบวนการเหล่านั้นด้วยเช่นกัน
  • การทำลายห่วงโซ่อาหารทางทะเล ผลการวิจัยของกรีนพีซ (Greenpeace) พบว่าการขุดค้นแร่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดการสูญพันธุ์ของสัตว์บางชนิด จนไปกระทบกับสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบห่วงโซ่อาหาร
  • ทำลายล้างโลกที่น่าพิศวงทั้ง ๆ ที่เรายังไม่ได้ค้นพบมัน การศึกษาโลกใต้น้ำนั้นเรียกได้ว่า เรายังแทบไม่รู้จักมันเลย มีสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่ถูกค้นพบหรือธรรมชาติที่เรายังไม่รู้จักมันด้วยซ้ำ มันคุ้มแล้วหรือที่จะทำลายโลกใต้น้ำเหล่านั้น ก่อนที่เราจะรู้จักมัน

Untitled-1-03-1

แน่ใจแล้วหรือกับการทำ ‘เหมืองแร่ใต้ทะเลลึก’ ?

จากการศึกษาวิจัย เป็นที่แน่นอนว่า การทำเหมืองแร่ใต้ทะเลลึกนั้นจะไม่ส่งผลดีต่อมหาสมุทรเป็นแน่

มีการเสนอทางเลือกอื่น อย่างเช่น การหาวิธีรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ การใช้พลังงานทดแทน หรือการคิดค้นเทคโนโลยีที่ใช้โลหะน้อยลง เพื่อที่เราจะสามารถหลีกเลี่ยงการทำลายระบบนิเวศที่อาจไม่สามารถกู้คืนได้

เราได้เรียนรู้ผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ต่อโลกมาแล้ว มันคุ้มค่าแล้วหรือ? ที่เราจะยอมแลกความต้องการของมนุษย์กับทำลายโลกใต้น้ำที่ล้ำค่าเหล่านั้น

อ้างอิง

LEAVE YOUR COMMENTS

RELATED ARTICLES