อุ๊ตะ! ฟุกุชิมะลงมติเอกฉันท์ เตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีสู่ทะเล
คุ้นชื่อนี้กันมั้ย? ใช่แล้ว! นี่คือเมืองที่ครั้งหนึ่งเคยถูกถล่มด้วยสึนามิจนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เกิดอุบัติเหตุจนสารกัมมันตรังสีรั่วไหล และ ณ วันนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญที่ทำการศึกษาเรื่องการจัดการน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีได้สรุปรายงานเสนอให้รัฐบาลญี่ปุ่นปล่อยน้ำลงสู่ทะเล
จริง ๆ แล้ว แนวทางการจัดการน้ำปนเปื้อนสามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่ การปล่อยลงสู่ทะเล การปล่อยทิ้งให้ระเหยกลายเป็นไอ และการใช้ทั้ง 2 วิธีการร่วมกัน
น้ำปนเปื้อนเหล่านี้มาจากหลายแหล่ง และส่วนใหญ่เป็นน้ำที่ใช้เพื่อการหล่อเย็นที่ใต้ดินของโรงงานที่ซึมเข้ามาทุกวันและน้ำฝน
น้ำทั้งหมดจะถูกสูบและนำมาผ่านเครื่องขจัดสารกัมมันตรังสีหลายชนิด กรองและบำบัดจนสะอาด จากนั้นเอาไปเก็บไว้ในแทงก์ที่ติดตั้งไว้ในโรงงาน
สารกัมมันตรังสีทั้งมดถูกกำจัดเว้นแต่เพียง “ทริเทียม” เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถขจัดมันออกไปได้
ตามข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ ทริเทียมมีการปล่อยกัมมันตรังสีน้อยที่สุดและเป็นธาตุที่มีอันตรายน้อยที่สุด มันชอบละลายอยู่กับน้ำมากกว่าในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต มันจะเจือจางหายไปหมด และยิ่งเมื่อถูกเจือจางกับทะเล มันแทบไม่มีโอกาสจะหลุดรอดมาสะสมในคนหรือสิ่งมีชีวิตใด ๆ เลย
การสะสมทริเทียมในร่างกายมนุษย์ (ในระดับที่สูงมาก) จนทำให้เกิดโรคมะเร็งเป็นเพียงแค่สมมติฐานเท่านั้น แปลง่าย ๆ คือแทบเป็นไปไม่ได้เลย
ควรทราบว่า ทริเทียมที่เกิดตามธรรมชาตินั้นมีปริมาณมากกว่าจำนวนที่จะถูกปล่อยออกจากแทงก์กักเก็บของฟุกุชิมะหลายพันล้านเท่า และมันไม่ได้สร้างผลกระทบใด ๆ กันสุขภาพของเราหรือสิ่งแวดล้อมเลย
การกักเก็บมันไว้ก็เท่ากับไปทำให้มันมีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลอันตรายยิ่งกว่าก็ได้ อีกทั้งมันยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเป็นตัวเลขที่สูงมากโดยไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ใด ๆ
ถึงอย่างนั้น เหล่าผู้เชี่ยวชาญก็ยังแนะนำว่าให้ค่อย ๆ ปล่อยน้ำที่กักเก็บในแทงก์ลงสู่ทะเลอย่างช้า ๆ โดยใช้ระยะเวลาให้ยาวนานกว่า 10 ปี
ในเวลานี้ ทางโรงงานได้กักเก็บน้ำไว้ราว 1.2 ล้านตัน ซึ่งแทงก์น้ำได้กระจายตัวเต็มพื้นที่โรงงานไปหมด และคาดว่าจะเต็มพื้นที่ภายในปี 2022 และทางรัฐบาลต้องพิจารณาข้อเสนอจากผู้เชี่ยวชาญก่อนสั่งการต่อไป
อ้างอิง