เมื่อพญาอินทรีไฝว้กับพญามังกรก็เดือดร้อนส่งออกของช้างน้อยอย่างเราน่ะสิ สงครามการค้าส่งผลต่ออุตสาหกรรมเดินเรือหรือไม่? ไปดูกัน
ผลกระทบของสงครามการค้าไม่ได้จำกัดอยู่เพียงสหรัฐและจีนเท่านั้น
เพราะเมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐและจีน ซึ่งใหญ่เป็นอันดับหนึ่งและสองของโลกชะลอตัว
ส่งผลให้ทั้งสองประเทศ นำเข้าสินค้าจากประเทศอื่น ๆ รวมถึงไทยลดน้อยลง ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก
เเล้วภาคการเดินเรือหล่ะ สงครามการค้าส่งผลต่ออุตสาหกรรมเดินเรือหรือไม่?
ภาคการเดินเรือของบริษัทเรือสินค้า 3 เจ้าใหญ่ของไทย
-
PSL - ยอมรับว่าภาพรวมค่าระวางเรือในช่วงต้นปีค่าระวางปรับลดลงประมาณ 45% ทั้งนี้เป็นผลกระทบจากสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวกระทบภาคการส่งออก รายได้ในช่วง 6 เดือนปี 2562 ขาดทุน 225.20 ล้านบาท โดยรายได้จากการเดินเรือสุทธิไตรมาสสอง ปี 2562 ลดลง 18% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
-
TTA ครึ่งปีแรกขาดทุน 266.25 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะมาจากธุรกิจเดินเรือที่มีสัดส่วนรายได้ 40% เเต่ทั้งนี้ไม่ได้ระบุว่าเป็นผลกระทบโดยตรงจากสงครามการค้า
-
RCL ระบุว่า สงครามการค้าไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อบริษัทเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวกระทบโดยตรงเเค่ระหว่างจีนและสหรัฐฯ เเละปัจจุบันบริษัทยังมีลูกค้าจากจีนต่อเนื่อง
ทั้งนี้ยังมีหลายปัจจัยของสถาณการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกที่จะต้องนำมาพิจารณา เช่น ฤดูส่งออกของสินค้า Grain ของกลุ่มประเทศอเมริกาใต้, เหตุการณ์เหมืองเเร่ในบราซิลพังถล่ม หรือ การบังคับใช้กฏข้อบังคับใหม่ของ IMO เป็นต้น
ภาคการดำเนินงานของท่าเรือ
ผลการดำเนินงานให้บริการเรือสินค้าและตู้สินค้าผ่าน 5 ท่าเรือหลักของ กทท. ระหว่างเดือนตุลาคม 2561– เมษายน 2562 ขยายตัวไม่มาก รวมรายได้อยู่ที่ 8,730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.69% เทียบจากปีที่ผ่านมา
เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ส่งผลให้ภาคการส่งออกชะลอตัว ประกอบกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ยังคงยืดเยื้อ
โดยภาพรวมปริมาณตู้สินค้าแยกตามท่าเรือ พบว่า
-
ท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) มีเรือเทียบท่า 2,181 เที่ยว เพิ่มขึ้น 20.63% สินค้าผ่านท่า 12.007 ล้านตัน ลดลง 5.94% ตู้สินค้าผ่านท่า 0.835 ล้าน ที.อี.ยู. ลดลง 4.09%
-
ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เรือเทียบท่า 6,426 เที่ยว ลดลง 5.64% สินค้าผ่านท่า 53.084 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 6.01% ตู้สินค้าผ่านท่า 4.761 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 3.14%
-
ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน (ทชส.) เรือเทียบท่า 1,549 เที่ยว ลดลง 32.06% สินค้าผ่านท่า 124,370 ตัน ลดลง 23.29%
-
ท่าเรือเชียงของ (ทชข.) เรือเทียบท่า 645 เที่ยว เพิ่มขึ้น 127.92% สินค้าผ่านท่า 36,076 ตัน ลดลง 6.41%
-
ท่าเรือระนอง (ทรน.) เรือเทียบท่า 210 เที่ยว เพิ่มขึ้น 13.51% สินค้าผ่านท่า 91,833 ตัน เพิ่มขึ้น 83.38%
เราได้เห็นแนวโน้มนี้แล้ว จากตัวเลขส่งออกของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 มูลค่าการส่งออกหดตัวที่ -4.4%YoY เเละยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว เช่นเดียวกับหลายประเทศในภูมิภาค
สินค้าสำคัญที่มีการหดตัวยังคงเป็นสินค้าที่เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของการผลิตสินค้าส่งออกของจีนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ได้เเก่ คอมพิวเตอร์-อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เคมีภัณฑ์และพลาสติกและแผงวงจรไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีสินค้าส่งออกประเภทอื่นที่มีการหดตัว เช่น ข้าว, เม็ดพลาสติก, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ผลิตภัณฑ์ยางและน้ำตาลทราย
เช่นเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ -9.4%YoY จากการหดตัวในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่หดตัวถึง -18.8%YoY ขณะที่ การนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบก็มีการหดตัวเช่นกันที่ -11.3%YoY และ -5.2%YoY ตามลำดับ
ซึ่งจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ยังต่ำกว่ามูลค่าส่งออกสินค้า ทำให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 3,212 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา
อีไอซีธนาคารไทยพาณิชย์ประเมินว่า สถานการณ์ส่งออกทั้งของไทยและของหลายประเทศผู้ส่งออกสำคัญในภูมิภาคยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว
*YoY = Year on Year เป็นการเปรียบเทียบตัวเลขรายไตรมาสในช่วงเวลาเดียวกันแต่คนละปี
อ้างอิง
- https://www.scbeic.com/th/detail/product/6158
- https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=A&id=Zi9MOHR0WFhFYlE9&security=PSL
- https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=A&id=UkVKVkM2c21WWXc9&security=TTA
- https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=A&id=WFVNMmVQUENFUTQ9&security=RCL
- https://www.thunhoon.com/207031/24/47/
- https://www.thebangkokinsight.com/180692/