สุดสัปดาห์นี้ไปฟอกปอดกัน รับรองอากาศที่นี่สะอาดเฟร่อออ!
ที่ไหนเอ่ย
ตลอดปีมีเมฆปกคลุมมากที่สุดในโลก?
"มหาสมุทรแดนใต้ (the Southern Ocean)"
แล้วมันสำคัญยังไง?
ก็เพราะเมฆเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนหรือยอมให้แสงอาทิตย์ผ่านมาสู่โลก มันเลยมีผลต่อสภาพอากาศโดยรวมของโลกทั้งใบ
‘เมฆ’ นี่แหละที่ดึงดูดเหล่าคนที่ขี้สงสัยมากที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลกให้ดั้นด้นเดินทางไปศึกษามันถึงที่
มหาสมุทรแดนใต้คือผืนมหาสมุทรทั้งหมดที่โอบรอบโลกช่วงระหว่างทวีปแอนตาร์กติกาและแผ่นดินของซีกโลกใต้
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบมันตู้วหูวสุด ๆ
อากาศของที่นี่ ‘ไร้’ อนุภาคปนเปื้อนจากแผ่นดินโดยสิ้นเชิง
มันเพียวที่สุดของที่สุดแล้ว
พวกเขาเลือกใช้วิธีศึกษาชนิดแบคทีเรียที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ
เพราะพวกเขารู้ที่มาของแบคทีเรียส่วนใหญ่
จึงใช้มันคาดการณ์ที่มาของอากาศด้วย
โดยเก็บตัวอย่างอากาศที่หัวเรือ R/V Investigator
เป็นช่วงเวลา 1-2 วันเก็บ 1 ครั้ง ตลอดการเดินทาง 6 สัปดาห์
สมมติฐานที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ตั้งไว้แต่แรกคือ จะต้องพบแบคทีเรียทั้งที่มีถิ่นที่อาศัยในทะเลและแผ่นดินร่วมกันในอากาศของมหาสมุทรแดนใต้ เช่นเดียวกับที่พบในแดนเหนือ
แต่…
พวกเขาพบเพียงแบคทีเรียชนิดเดียวเท่านั้น
มันคือแบคทีเรียที่อาศัยในทะเล
นั่นหมายความว่าไม่มีสิ่งเจือปนจากแผ่นดิน
ทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมลพิษ
การค้นพบครั้งนี้ส่งผลใหญ่หลวงต่อการพยากรณ์สภาพอากาศของโลก เพราะต้องโละโมเดลจำลองที่ผ่านมาทั้งหมด
เมฆที่เราพบเห็นเกิดขึ้นได้ทั้งจากการวมตัวของหยดน้ำเล็ก ๆ หรือเกล็ดน้ำแข็ง โดยอนุภาคที่พบในอากาศมีผลใหญ่หลวงว่าจะเกิดการรวมตัวเป็นหยดน้ำหรือเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
เมฆที่เกิดจากเกล็ดน้ำแข็ง สะท้อนแสงอาทิตย์ได้น้อยกว่า ควบแน่นตกสู่ผืนโลกมากกว่า และคงอยู่ได้ไม่นานเท่ากับเมฆจากหยดน้ำ
การศึกษานี้ทำให้ต้องมีการสร้างโมเดลเมฆและสภาพอากาศใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะมีผลต่อความเข้าใจและความแม่นยำมากขึ้นในการพยากรณ์อากาศ
แต่ถึงอย่างนั้น การวิจัยศึกษาในมหาสมุทรตอนใต้ยังมีน้อยเกินไปอยู่ดี นักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
อ้างอิง