เรื่องดีต้องชื่นชม! IUU ชื่นชมไทย กับการต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย
ประเทศไทย กับการประมงเเบบยั่งยืน!
ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมประมงไทยได้เติบโตแบบก้าวกระโดด
โดยมี Fishery GDP ของไทยมีมูลค่าประมาณ 3,285 ล้านยูโร หรือประมาณ 1.14 แสนล้านบาท
และมีศักยภาพในการผลิตและแปรรูปสินค้าอาหารทะเลและประมงอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านตันต่อปี
ประเทศไทยจึงกลายเป็นประเทศผู้ผลิต แปรรูป เพื่อการส่งออกสินค้าประมงและอาหารทะเลอันดับต้นๆ ของโลก
ในขณะที่มุ่งเป้าหมายด้านเศรษฐกิจและเป้าการส่งออก แต่เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านสังคมก็ต้องไม่ถูกละเลย
ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำประมงตามวิถีแบบเดิมๆ ให้ก้าวทันกับธุรกิจและอุตสาหกรรมในระดับโลก
การประมงแบบยั่งยืนนี้ ไม่ใช่ทำเพียงเพื่อทำตามข้อเสนอแนะของอียูเท่านั้น (เพื่อให้ค้าขายและส่งออกไปอียูได้)
แต่ต้องมองเป้าหมายหลัก เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล
และการมีนโยบายประมงที่มีความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เป็นสำคัญ
จึงได้มีการจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการทำการประมง (Fisheries Monitoring Center : FMC) ขึ้น
โดยมีการติดตั้ง ระบบติดตามตำแหน่งเรือ (Vessel Monitoring System : VMS) โดยใช้ระบบดาวเทียม
เพื่อคอยตรวจสอบเส้นทางและพฤติกรรมของเรือประมง และคอยเฝ้าระวังเพื่อลดจำนวนเรือประมงกลุ่มเสี่ยง
ทั้งยังกำหนดมาตรการควบคุมเรือประมงนอกน่านน้ำ และเรือขนถ่าย ด้วยระบบ (Electronic Reporting System : ERS)
และมีการติดตั้ง CCTV (Semi/Near Real-time) ที่สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา
จนในการประชุมเรื่องความร่วมมือต่อต้านประมงผิดกฎหมายระหว่างอาเซียนและแปซิฟิก
ครั้งที่ 1 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่ผ่านมา ประเทศไทยถือว่าได้รับคำชมจาก
ทาง องค์การสหประชาชาติ (UN) ว่าเป็น 'แบบอย่างประมงยั่งยืน'
ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ได้ผลที่น่าพอใจร่วมกันระหว่างอาเซียน-แปซิฟิก ที่เห็นพ้องกัน
ในการสร้างความร่วมมือทางด้านประมงยั่งยืนเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร (food security)
เป็นการร่วมมือกันจากกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศและกลุ่มแปซิฟิก 16 ประเทศ
นอกเหนือจากนี้ กลุ่มประเทศอาเซียนก็พร้อมร่วมมือกับกลุ่มประเทศแปซิฟิก
ในการต่อต้านประมงผิดกฎหมาย ที่สอดคล้องกับ SDG ขององค์การสหประชาชาติ
โดยไทยได้รับคำชื่นชมในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing)
จนเป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ (UN)
ซึ่งประเทศไทยมีฐานะเป็นประธานอาเซียนริเริ่มนโยบายประมงอาเซียน (ASEAN General Fisheries Policy)
และการจัดตั้งเครือข่าย อาเซียนในการต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย (ASEAN Network for combating IUU fishing)
และทางที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย
ได้รับการเชิญชวนจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการทางทะเลและประมงอินโดนีเซีย
ให้ร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมประมงกับอินโดนีเซีย โดยมีสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเป็นพิเศษ
นับว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งของ วงการประมงไทย
และก็คงต้องรอดูแนวโน้มในอนาคตว่า การประมงไทย ของเราจะไปในทิศทางไหน
โดย Ship Expert Technology ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้บริการอินเทอร์เน็ต ผ่านดาวเทียม
และระบบ CCTV เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน 'การประมงแบบยั่งยืน' ในครั้งนี้อีกด้วย