ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี-จากไอเดียสู่ความจริง
ถ้าบอกว่าไอเดียของการสื่อสารผ่านดาวเทียมนั้นมาจากผู้ที่เป็นทั้งครูสอนศาสนาและนักเขียนชาวอเมริกัน คงคาดไม่ถึงกันเลยใช่หรือไม่ เอ็ดเวิร์ด เอเวอเรตต์ เฮล (Edward Everett Hale) ได้เขียนถึงไอเดียนี้ไว้ในหนังสือเรื่อง ‘The Brick Moon’ ที่ตีพิมพ์ในช่วงปี 1869-1870 โดยเล่าถึงการสร้างและส่งดาวเทียมที่ทำจากอิฐที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 60 เมตรขึ้นสู่วงโคจรโลก ซึ่งดวงจันทร์อิฐ (The Brick Moon) นี้ทำหน้าที่ช่วยนำทางให้เหล่าคนประจำเรือ
ต่อมาในปี 1945 มีการนำเสนอคอนเซปต์การสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ดูเข้าท่าขึ้นเป็นครั้งแรกจากนายอาเธอร์ ซี คลาร์ก (Arthur C. Clarke) นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ในบทความที่ชื่อ ‘Extra-Terrestrial Relays: Can Rocket Stations Give World-wide Radio Coverage’ ซึ่งผลงานของเขานำไปสู่การสร้างดาวเทียมดวงแรกของโลกชื่อสปุตนิก 1 (Sputnik 1) โดยสหภาพโซเวียตส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 4 ตุลาคม 1957 และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดาวเทียมเรื่อยมา
VSAT (Very Small Aperture Terminal) หรือจานรับสัญญาณดาวเทียมขนาดเล็กมากถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นประเภทรับสัญญาณในระบบ C-band เท่านั้น และในยุคเดียวกันนี้ ยังได้มีการพัฒนาจานดาวเทียมระบบ Ku-band ขึ้นเป็นจานแรกของโลก เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับแท่นขุดเจาะน้ำมันและฐานการสำรวจ
จากนั้นจึงได้มีการพัฒนาจานดาวเทียมระบบ Ku-band สำหรับลูกค้าประเภทองค์กร ซึ่ง 20 ปีให้หลัง จานรับสัญญาณดาวเทียมขององค์กรเหล่านี้ได้กระจายตัวไปถึง 100,000 แห่ง โดยหลัก ๆ แล้วจะใช้ในการสื่อสารแบบสองทางหรือระบบโทรศัพท์นั่นเอง
จาน VSAT ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการใช้งานและง่ายต่อการติดตั้ง
VSAT อุปกรณ์จำเป็นสำหรับเรือ
การสื่อสารเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ และยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นไปอีกในยุคที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลยุคนี้ ซึ่งเมื่อนำโซลูชันด้านดิจิทัลมาใช้ในการทำงาน เท่ากับช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินธุรกิจ
บางครั้งไซต์งานและสถานที่ปฏิบัติงานตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะกลางทะเลที่โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการสื่อสารแบบเดิม ๆ เข้าไม่ถึง ดาวเทียมได้สร้างโอกาสในการติดต่อสื่อสารกันอย่างไร้พรมแดนในพื้นที่มีสัญญาณครอบคลุม และด้วยการติดตั้งจาน VSAT เราสามารถสร้างโครงข่ายเชื่อมต่อระหว่างสถานี สถานที่ปฏิบัติงาน และสำนักงาน
จาน VSAT สำหรับใช้ในทะเลนั้นจำเป็นต้องทนต่อสภาพแสดล้อมแบบสุดขั้วได้ ทั้งต้องมีชุดควบคุมความเสถียรแบบ 3 แกน (3-axis stabilizer) อันถือเป็นส่วนประกอบที่จะขาดเสียมิได้สำหรับจาน VSAT ที่ใช้ทะเล ซึ่งจะช่วยปรับทิศทางจานให้หาทิศที่รับสัญญาณได้ดีที่สุด มีการออกแบบโดมครอบเพื่อป้องกันความเสียหายให้กับอุปกรณ์ทุกชิ้น ส่งผลให้ต้นทุนค่าซ่อมบำรุงจาน VSAT มีราคาต่ำ
นอกจากนี้ การออกแบบจาน VSAT สำหรับอุตสาหกรรมทางทะเลเน้นให้มีขนาดกะทัดรัดและกลมกลืนไปกับโครงสร้างของตัวเรืออีกด้วย
หากเรือหรือสถานที่ปฏิบัติงานได้ติดตั้งจาน VSAT แล้ว จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ
การใช้งาน VSAT รูปแบบต่าง ๆ สำหรับธุรกิจการเดินเรือ
การใช้งานจาน VSAT สำหรับอุตสาหกรรมทางทะเลสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ การใช้งานสำหรับการดำเนินงานทางธุรกิจ และการใช้งานเพื่อสวัสดิการลูกเรือและผู้โดยสาร ยังคงมีการพัฒนาการใช้งานในรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการใช้งานที่รู้จักกันดีอยู่แล้วในวงการเรือ
การใช้งานสำหรับการดำเนินงานทางธุรกิจ
- ซอฟท์แวร์ ERP (Enterprise Resource Planning): เจ้าของธุรกิจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสามารถดูแลจัดสรรทรัพย์สินในธุรกิจทั้งหมดได้แบบเรียลไทม์ด้วยโปรแกรมนี้ ซึ่งตัวอย่างของซอฟท์แวร์ประเภทนี้คือ Ship Expert Enterprise (SEE) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อธุรกิจทางทะเลโดยเฉพาะ
- ความปลอดภัยทางไซเบอร์: เทคโนโลยีได้เปิดประตูสู่โอกาสใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดรับต่อความเสี่ยงและภัยคุกคามใหม่ด้วยเช่นกัน IMO กำหนดสมาชิกจัดตั้งระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบจัดการความปลอดภัย และจะต้องมีการจัดการนี้ให้ทันการตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2021 เป็นต้นไป ดังนั้น บนเรือต้องติดตั้งไฟร์วอล อัปเดตและเข้ารหัสความปลอดภัยให้กับซอฟท์แวร์
- การตรวจสอบการใช้เชื้อเพลิง: เมื่อเจ้าของธุรกิจรับรู้ปริมาณการใช้เชื้อเพลิง ก็จะสามารถวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อการควบคุมต้นทุนที่ดีขึ้น
- ติดตามสมรรถะของเรือ: ผู้จัดการกองเรือเก็บข้อมูลต่าง ๆ จากเรือเพื่อนำมาประเมินประสิทธิภาพของการเดินเรือในทุก ๆ การเดินทาง
- ติดตามสภาพอากาศ: กะลาสีเรือจำเป็นต้องใช้ข้อมูลสภาพอากาศและท้องทะเลในการวางแผนเส้นทางการเดินเรือเพื่อคำนวณการใช้เชื้อเพลิง ความสะดวกสบายของผู้โดยสาร หรือลดแรงกระทำต่อสินค้าบนดาดฟ้าเรือ
- การจัดการการใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์: ผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศต้องคอยควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต ควบคุมการเข้าถึง และบริหารจัดการข้อมูลที่ส่งมายังเรือตามความต้องการของผู้ดูแล ลูกเรือและลูกค้า
- การตรวจสอบไอที: ผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศสามารถดูแลเครือข่ายบนเรือ แก้ปัญหา ควบคุมการเข้าถึงข้อมูล และสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์
- การควบคุมจากท่าเรือ: กัปตันเรือสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่และผู้ดูแลท่าเรือเพื่อจัดการเวลาเทียบท่า ข้อกำหนดท่าจอดเรือ และร้องขอบริการเรือนำร่อง
- การสนับสนุนจากชายฝั่ง: สำนักงานชายฝั่งสามารถส่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเรือ
- การวางแผนซ่อมบำรุงป้องกัน: สามารถบันทึกข้อมูลอะไหล่เรือและเครื่องยนต์และวิเคราะห์สภาพเพื่อกำหนดตารางซ่อมบำรุง
การใช้งานเพื่อสวัสดิการลูกเรือและผู้โดยสาร
- ใช้งานอินเทอร์เน็ต: ลูกเรือและผู้โดยสารท่องเว็บไซต์ได้ตามต้องการ
- TVRO (Television Receive-Only): ลูกเรือและผู้โดยสารเลือกรับชมช่องรายการทีวีได้เหมือนอยู่บนฝั่งในเวลาพักผ่อน
- VoIP: Voice over IP ช่วยให้คุณสามารถโทรศัพท์กลับบ้านได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ตโพรโตคอล
- โซเชียลมีเดีย: มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในยุคดิจิทัลไปแล้ว แต่กระนั้นการใช้โซเชียลมีเดียบนเรือควรอยู่ภายใต้ข้อกำหนด
- โทรขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ (Telemedicine): ในกรณีฉุกเฉิน สามารถติดต่อขอคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ได้แบบเรียลไทม์เพื่อแก้ไขสถานการณ์อย่างทันท่วงที
- การฝึกอบอรมแบบ E-training: สามารถจัดการฝึกอบรบพิเศษบนเรือเพื่อพัฒนาการด้านอาชีพ อย่างเช่น การฝึกอบรมผ่านไลฟ์ (Live training) หรือในรูปแบบการดาวน์โหลดวิดีโอ
Ship Expert Technology มีแอปพลิเคชันไว้ให้ผู้ใช้งานเช็กปริมาณการใช้งานของตัวเองได้ โดยรวมเอาไว้ในบริการระบบ VSAT สำหรับอุตสาหกรรมทางทะเลที่มีความเสถียรสูงและเชื่อถือได้